วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

                                                                         รายงาน
เรื่อง   กรณีศึกษาโรคเบาหวาน






เสนอ
อาจารย์ อุไรวรรณ    ไกรนรา




จัดทำโดย
นางสาวนฤมล  ปราบเภท รหัสนักศึกษา 5811166213







สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ภาคเรียนที่ 3  ปีการศึกษา 2559


คำนำ
            รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Pathophysiology เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง กรณีศึกษาโรคเบาหวาน Diabetes mellitus (DM) และได้ศึกษาศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียนวิชา Pathophysiology เป็นอย่างมาก
 ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือนักเรียน นักศึกษาที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย




                                                                                                                 
                                                                                                                 

                                                                                                                   


                                                                                                                  


                                                                                                                             ผู้จัดทำ
นางสาวนฤมล  ปราบเภท


      







สารบัญ
เรื่อง                                                                                                          หน้า

คำนำ                                                                                                             

สารบัญ                                                                                                         

กรณีการศึกษา                                                                                            1-3

บรรณานุกรม                                                                                                  4








                                                                        โรคเบาหวาน

ความหมายของโรคเบาหวาน
            โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ  จากการที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหารไปใช้ได้ตามปกติ  เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของตับอ่อน  ความอ้วน  โรคของระบบต่อมไร้ท่อหรือการได้รับยาต้านอินซูลิน พวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ 

ประเภทของโรคเบาหวาน
            โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
            1. โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin dependent diabetes) หรือโรคเบาหวานในเด็ก ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้เป็นผู้ที่ร่างกายขาดอินซูลินโดยสิ้นเชิง เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้
อาจเนื่องมาจากเบต้าเซลล์ในตับอ่อนมีน้อยหรือไม่มีเลย พบในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 30 ปี ทั้งชายและหญิง อาการของโรคมักเป็นรุนแรง ส่วนใหญ่มีรูปร่างผอม น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว (บุญทิพย์  สิริธรังศรี, 2539)
            2. โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non - insulin dependent diabetes) มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย มักพบในคนที่อ้วนมาก นอกจากนี้กรรมพันธุ์ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอย่างมาก ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรงเป็นเบาหวาน  มีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวานชนิดนี้ได้มาก  อาการที่เกิดขึ้นมีได้ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ  แต่ตรวจพบโดยบังเอิญหรือมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปจนถึงขั้นแสดงอาการรุนแรง  ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานประเภทนี้ยังสามารถผลิตอินซูลินได้ตามปกติหรืออาจจะน้อยหรืออาจจะมากกว่าปกติได้  แต่อินซูลินที่มีอยู่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดีจึงไม่ถึงกับขาดอินซูลินไปโดยสิ้นเชิงเหมือนคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ผู้ป่วยจึงไม่เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโตน (เทพ หิมะทองคำ และคณะ, 2544) ซึ่งความแตกต่างของเบาหวานทั้ง 2 ประเภท




 กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยหญิงไทย รูปร่างผอมสูง  อายุ 44 ปี สัญชาติไทย  นับถือศาสนาอิสลาม การศึกษาไม่ได้เรียนหนังสือ มีอาชีพทำนา รายได้ไม่แน่นอน ที่อยู่ปัจจุบัน 137/2  ม.6  ต.เกาะกลาง  อ.เกาะลันตา  จ.กระบี่
            อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล  ปวดแผลที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างมาก  มีหนองและกลิ่นเหม็นมาก ก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน

ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
            2 ปีก่อนมา มีแผลที่ใต้ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง หน้ามืด เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลง 7  กิโลกรัม  ภายใน  3  เดือน  มารักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้  247 mg/dl  แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน  รักษาโดยให้ยา Glibenclamide   1 เดือน ก่อนมา  หน้ามืด  เป็นลม  ขาดยาประมาณ  1  เดือน  เนื่องจากไม่มีญาติพามาโรงพยาบาล

อาการทั่วไป
1.             เหนื่อย อ่อนเพลีย
2.             ผิวแห้ง คัน
3.             ตาแห้ง
4.             อาการชาเท้าหรือรู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้าหรือที่เท้า
5.             ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้
6.             เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆแผลมักหายช้ากว่าปกติโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า
7.             บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
            องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเกณฑ์ของการวินิจฉัยเบาหวานในปี พ.ศ.2541 (ภาวนา กีรติยุตวงศ์,2544) โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1.  มีอาการแสดงของเบาหวาน  ร่วมกับค่าของน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้  มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dl
            2.  มีน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารและน้ำทางปาก  (Fasting  blood  sugar) เป็นเวลา  8 ช.ม.  โดยมีค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ  126 mg/dl
            3.  การตรวจ Glucose tolerance test  มีระดับน้ำตาลในชั่วโมงที่ 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dl
การรักษา
แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน ต้องควบคู่กันไประหว่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยา และการรักษาควบคุมโรคร่วมต่างๆ หรือโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต คือ การลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารผักและผลไม้ และออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุข ภาพ
ส่วนการใช้ยาจะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีดอินซูลิน รวมทั้งยาต่าง ๆที่ใช้รักษาโรคร่วมต่างๆ เช่น การรักษาควบคุม โรคความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

สรุปกรณีศึกษา
            ผู้ป่วยหญิงไทย  อายุ 44 ปี  มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญคือ  ปวดแผลที่เท้าทั้ง 2 ข้างมาก  มีหนองและมีกลิ่นเหม็นมาก  2  วันก่อนมาโรงพยาบาล 
            1. ผู้ป่วยปวดแผลที่บริเวณฝ่าเท้าทั้ง 2  ข้างมาก 
            2. ผู้ป่วยดูแลตนเองไม่ถูกต้องเนื่องจากบกพร่องความรู้ในการดูแลตนเอง 
            3. ผู้ป่วยและบุตรวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่  และให้การพยาบาลโดยทำความสะอาดแผลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเบาหวานในด้านการรับประทานอาหาร  ผลไม้ที่เหมาะสม  การออกกำลังกาย  การดูแลแผลที่เท้ารวมทั้งการลดความวิตกกังวล



                                                                              บรรณานุกรม
1. Domrongkitchaiporn S, Sritara P, Kitiyakara C, Stitchantrakul W, Krittaphol V, Lolekha P, Cheepudomwit S, Yipintsoi T.. Risk factors for development of decreased kidney function in a southeast Asian population: a 12-year cohort study. J Am Soc Nephrol 2005;16:791-9.
2. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, Ongaiyooth L, Vanavanan S, Sirivongs D, Thirakhupt P, Mittal B, Singh AK; Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25:1567-75.
3. K/DOQI clinical practice guidelines for chronic kidney disease: evaluation, classification, and stratification. Am J Kidney Dis 200239:S1.
4. Ong-Ajyooth L, Vareesangthip K, Khonputsa P, Aekplakorn W. Prevalence of chronic kidney disease in Thai dults: a national health survey. BMC Nephrol 2009;10:35.
5. Perkovic V, Cass A, Patel AA, Suriyawongpaisal P, Barzi F, Chadban S, Macmahon S, Neal B; InterASIACollaborative Group. High prevalence of chronic kidney disease in Thailand. Kidney Int2008 ;73:473-9.



นางสาวนฤมล  ปราบเภท สธศ.582 เลขที่ 13


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น